ประวัติ เพย์ตัน แมนนิ่ง

| 01/01/1970 07:00 น. | 1391 Views

เพย์ตัน แมนนิ่ง (Peyton Manning)

Personal Profile

ข้อมูลด้านกายภาพ

ชื่อเต็ม : เพย์ตัน วิลเลี่ยมส์ แมนนิ่ง
เกิด : 24 มีนาคม ค.ศ. 1976
สถานที่เกิด : นิวออร์ลีนส์ , หลุยเซียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
อายุ : 33 ปี
ส่วนสูง : 196 เซนติเมตร  
น้ำหนัก : 100 กิโลกรัม

ข้อมูลด้านอาชีพ

อาชีพ : นักอเมริกันฟุตบอล
ตำแหน่ง : ควอร์เตอร์แบ็ค
สโมสร : อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส
หมายเลขเสื้อ : 18
ทีมระดับมหาวิทยาลัย : เทนเนสซี่
คัดเลือกเข้าสู่ลีกอาชีพ : 1998
อันดับที่ถูกเลือก : 1

เพย์ตัน วิลเลี่ยมส์ แมนนิ่ง จัดเป็นนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลอาชีพที่ประสบความสำเร็จ และโด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งในวงการ “อเมริกันเกมส์” ยุคนี้เลยทีเดียว โดยเขาลงเล่นให้กับ อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส ในลีก เอ็นเอฟแอล หรือ เนชั่นนัล ฟุตบอล ลีก มาแล้วตั้งแต่ปี 1998 หลังจากถูกคัดเลือก หรือดร๊าฟ เป็นอันดับที่ 1 ในปีเดียวกัน นอกจากนั้น เขายังเคยถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่าประจำฤดูกาล หรือ MVP ถึง 3 สมัยด้วยกัน นั่นคือในปี 2003 , 2004 และ 2008 ด้วย อีกทั้งยังสามารถนำทีมต้นสังกัดของเขา เอาชนะ ชิคาโก้ แบร์ส 29-17 คว้าแชมป์ ซูเปอร์ โบวล์ ครั้งที่ 41 มาครองได้อย่างยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน

เพย์ตัน ถือว่าเกิดในครอบครัวที่อาจจะเรียกได้ว่า “ควอเตอร์แบ็คแฟมิลี่” ทีเดียว โดยพ่อของเขา อาร์ชี แมนนิ่ง เคยเล่นเป็นควอร์เตอร์แบ็ค ระดับ เอ็นเอฟแอล ให้กับ เซนต์ส , ออยเลอร์ส และ ไวกิ้งส์ มาแล้ว ขณะที่น้องชายของเขา อีลาย แมนนิ่ง ก็เป็นควอร์เตอร์แบ็คเช่นเดียวกัน และสามารถพาทีม นิวยอร์ค ไจแอนท์ส คว้าแชมป์ ซูเปอร์ โบวล์ ครั้งที่ 42 ได้สำเร็จอย่างยิ่งใหญ่มาแล้วด้วย ขณะที่น้องชายของเขาอีกคนหนึ่ง นั่นคือ โคเปอร์ แมนนิ่ง นั้นก็เล่นอเมริกันฟุตบอลเช่นเดียวกัน แต่ทว่าเวลานี้กำลังเล่นอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยอยู่      

สำหรับเกียรติประวัติส่วนตัวของเจ้าของเสื้อหมายเลข 18 แห่ง อินเดียนาโปลิส โคลท์ส นอกเหนือจากตำแหน่ง เอ็มวีพี (MVP) 3 สมัยดังกล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น เขายังติดทีม ออล สตาร์ส เอ็นเอฟแอล หรือ โปรโบวล์ มาทั้งหมด 8 ครั้งด้วยกัน (ปี 1999 , 2000 , 2002 , 2003 , 2004 , 2005 , 2006 , 2007) และในปี 2005 เขาก็ยังได้รับเลือกให้ได้รับตำแหน่ง  เอ็มวีพี หรือ ผู้เล่นทรงคุณค่าประจำเกม ออล สตาร์ส ดังกล่าวอีกด้วย และนับจากนี้ต่อไปนี่คือข้อมูลที่น่าสนใจทั้งหลายของยอดควอร์เตอร์แบ็คแห่งยุค นามว่า เพย์ตัน วิลเลี่ยมส์ แมนนิ่ง

อเมริกันฟุตบอลในวัยมัธยมปลาย

 


 
เพย์ตัน แมนนิ่ง เข้าเรียนในโรงเรียน อิซิดอร์ นิวแมน ไฮสคูล ในช่วงมัธยมปลาย และเขาก็นำทีมโรงเรียนของเขาทำสถิติชนะ 34 และแพ้ 5 ในช่วง 3 ปีที่เล่นฟุตบอลอยู่ที่นั่น นอกจากนี้เข้ายังได้ถูกเสนอชื่อให้ได้รับรางวัล เกโตเรด เซอร์เคิ่ล ออฟ แชมเปี้ยน เนชั่นนัล เพลเยอร์ ออฟ เดอะ เยียร์ และ โคลัมบัส ทัชดาวน์ คลับ เนชั่นนัล ออฟเฟนซิฟ เพลเยอร์ ออฟ เดอะ เยียร์ ในปี 1993 ด้วย

 

อเมริกันฟุตบอลในวัยมหาวิทยาลัย

เพย์ตัน เลือกที่จะใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัยที่ แทนเนสซี่ ซึ่งที่นั่นเขาก็ได้กลายเป็น “มิสเตอร์ เรคคอร์ดแมน” เมื่อทำสติการกว้างได้สูงสุดตลอดกาลของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ด้วยการขว้างถึง 11,201 หลา กับอีก 89 ทัชดาวน์ โดยเป็นการนำทีมชนะ 39 จาก 45 เกม ซึ่งถือเป็นสถิติในขณะนั้นอีกเช่นเดียวกันด้วย

ในตอนสมัยเมื่อครั้งยังเป็น “เฟรชชี่” เจ้าของแหวน ซุเปอร์ โบวล์ ครั้งที่ 41 รายนี้ เริ่มต้นจากการเป็นควอร์เตอร์แบ็คมือ 3 รองจาก ทอดด์ เฮลตัน และ เจอร์รี่ คอลควิทท์ เท่านั้น แต่เมื่อทั้ง 2 คนมีปัญหาอาการบาดเจ็บในช่วงการแข่งขัน มิสซิสซิปปี้ สเตท เกม เพย์ตัน ก็ได้ถูกเลื่อนขึ้นมาเล่นเป็นตัวจริง และนำทีมจบการแข่งขันในซีซั่นดังกล่าว ด้วยชัยชนะ 8 ครั้ง และแพ้อีก 4 ครั้งด้วยกัน

ในปี 1995 ซึ่งเป็นปีถัดมาหลังจากการลงเล่นครั้งแรก เพย์ตัน แมนนิ่ง นำทีมของเขาพ่ายแพ้ต่อ เดอะ กาเตอร์ส หรือทีมฟุตบอลมหาวิทยาลัยฟลอริดา เพียงทีมเดียวเท่านั้นในฤดูกาลปกติ และพาทีมของเขาจบด้วยอันดับที่ 3 ในซีซั่นนั้น ก่อนจะได้รับการโหวตให้เป็นอันดับที่ 6 ในรางวัล ไฮส์แมน โทรฟี่ ในช่วงปีดังกล่าวด้วย

ปี 1996 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษาของ เพย์ตัน สุดยอดควอเตอร์แบ็ครายนี้ นำทีมจบอันดับที่ 2 ในซีซั่นดังกล่าว โดยตามหลังเพียงแค่ เนบราสก้า ทีมเต็งแชมป์ในปีนั้นเพียงทีมเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามในรายการ ไซตรุส โบวล์ เขาสามารถนำทีมเอาชนะ นอร์ธเวสเทิ่ร์น ได้อย่างยิ่งใหญ่ในนัดชิงชนะเลิศ พร้อมทั้งคว้าตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่า หรือ เอ็มวีพี (MVP) ประจำทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวไปครองได้สำเร็จอีกต่างหาก

ด้วยความสำเร็จอันล้นหลามนี่เองทำให้เมื่อจบการศึกไป ทาง มหาวิทยาลัยแทนเนสซี่ ก็ได้สั่งเว้นว่างเสื้อหมายเลข 16 ของเขาไว้ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ผลงานที่เขาได้สร้างขึ้นมา รวมไปถึงตั้งชื่อถนนที่มุ่งหน้าตรงไปยัง สเตเดี้ยม ของมหาวิทยาลัยนั่นคือ นีย์แลนด์ สเตเดี้ยม ด้วยว่า เพย์ตัน แมนนิ่ง แพส (Peyton Manning Pass)

เส้นทางในอเมริกันฟุตบอลอาชีพ

ปี 1998 (รุคกี้ ซีซั่น)

เพย์ตัน แมนนิ่ง เริ่มต้นเข้าสู่วงการลีกอาชีพด้วยการถูกคัดเลือก หรือดร๊าฟ (Draft) เข้ามาเป็นอันดับที่ 1 โดย อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส และก็สามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมแทบจะในทันทีเลยทีเดียว เมื่อทำผลงานการขว้างได้ถึง 3,739 หลา และ 26 ทัชดาวน์ ในฤดูกาลแรก จนทำให้เขาถูกเสนอชื่อให้ติดทีม “รุคกี้ ยอดเยี่ยม” หรือ ออล-รุคกี้ เฟิร์สท ทีม ในปีดังกล่าวด้วย

ปี 1999

โคลท์ส เริ่มต้นซีซั่นได้อย่างยอดเยี่ยมในปีนั้น เมื่อถล่มเอาชนะ บัฟฟาโล่ ไปได้ 31-14 ในเกมเปิดสนาม แต่ทว่าหลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่มออกอาการสะดุด เมื่อพ่ายแพ้ให้กับ แพทริออทส์ 7-28 ในสัปดาห์ต่อมา อย่างไรก็ตามด้วยผลจากการเร่งเครื่องในช่วงสุดท้ายของฤดูกาลปกติ เพย์ตัน แมนนิ่ง ก็พาทีมเข้าสู่เพลย์ออฟได้สำเร็จ แต่ทว่าก็ไปไม่ถึงดวงดาวอีกเมื่อถูกเขี่ยตกรอบไปด้วยน้ำมือของ แทนเนสซี่ ไตตันส์ ไป

สำหรับผลงานส่วนตัวของ เพย์ตัน ในปีดังกล่าวนั้น เขาขว้างได้ระยะทั้งหมด 4,135 หลา พร้อมกับสร้างสรรค์ให้เพื่อนร่วมทีมทำคะแนนได้ทั้งหมด 26 ทัชดาวน์ด้วยกัน ซึ่งนั่นทำให้เขามีชื่อติดทีม โปรโบวล์ ครั้งแรก และใน โปรโบวล์ หนแรกนี่เอง เขาก็ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมพอสมควร เมื่อขว้างรวมระยะได้ 270 หลา กับส่งให้เพื่อนร่วมทีมทำคะแนนได้ถึง 2 ทัชดาวน์อีกด้วย

ปี 2000

ยังคงเป็นฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมอยู่เหมือนเดิมสำหรับผลงานส่วนตัวของ เพย์ตัน แมนนิ่ง เมื่อเจ้าตัวขว้างรวมระยะได้ทั้งหมด 4,413 หลา และขว้างทัชดาวน์ได้ทั้งหมด 33 ครั้งด้วยกัน ซึ่งนั่นก็ส่งผลทำให้เขาได้ติดทีม โปรโบว์ เป็นครั้งที่ 2 ในอาชีพ และยังเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันอีกด้วย

ปี 2001

ซีซั่น 2001 ถือเป็นซีซั่นที่น่าผิดหวังพอสมควรทีเดียวสำหรับทั้ง เพย์ตัน แมนนิ่ง และทีม เมื่อเขานำ อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส จบฤดูกาลด้วยสถิติ ชนะ 6 เกม และแพ้ไปถึง 10 เกมด้วยกัน ซึ่งนั่นทำให้ทีมของเขาไม่ผ่านเข้าไปเล่นเพย์ออฟในปีดังกล่าวด้วย

ด้านสถิติส่วนตัวนั้น เพย์ตัน กว้างรวมระยะได้ทั้งหมด 4,131 หลา และขว้างทัชดาวน์ได้ทั้งหมด 26 ครั้งด้วยกัน

ปี 2002

เพย์ตัน แมนนิ่ง นำทีม อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส จบฤดูกาลด้วยสถิติ 10-6 (ชนะ 10 แพ้ 6) ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่ผ่านมา และสามารถพุ่งเป้าไปยังการเล่นในรอบเพลย์ออฟต่อไปได้ ทว่าในการแข่งขัน ไวล์ด คาร์ด เกม ซึ่งต้องพบกับ นิวยอร์ค เจ็ทส์ นั้น ทีมของ แมนนิ่ง โดนถล่มไปถึง 0-41 ส่งผลทำให้ความหวังในการเพลย์ออฟต้องพังทลายลง และในเกมนั้น ยอดควอร์เตอร์แบ็คของทีม ก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังด้วย หลังจากกว้างทำระยะได้เพียงแค่ 137 หลาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในปีดังกล่าว แมนนิ่ง ซึ่งขว้างรวมระยะได้ทั้งหมด 4,200 หลา และส่งให้เพื่อนทำทัชดาวน์ได้ทั้งหมด 27 ครั้งด้วยกันนั้น ก็ถูกเรียกกลับมาติด โปรโบวล์ อีกครั้ง ซึ่งก็เป็นครั้งที่ 3 ในอาชีพของเขาด้วย

ปี 2003

ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จพอสมควรทีเดียวสำหรับ เพย์ตัน แมนนิ่ง เมื่อเขานำทีม อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส ของเขา ผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้สำเร็จ และก็สามารถพาทีมเอาชนะได้ในการเล่นรอบดังกล่าวเป็นครั้งแรกในชีวิตการเล่นของเขาอีกด้วย ก่อนจะมีอันต้องตกรอบไปด้วยน้ำมือของ นิว อิงแลนด์ แพทริออตส์ ในการเล่นเพลย์ออฟรอบต่อมา

ด้านรางวัลส่วนตัวนั้น ถือเป็นครั้งแรกที่เดียวที่ เพย์ตัน ได้รับรางวัล ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของ เอ็นเอฟแอล (NFL) หรือตำแหน่ง เอ็มวีพี (MVP) นั่นเอง และแน่นอนว่าด้วยรางวัลการันตีความสามารถเช่นนี้ก็ทำให้เขาได้เล่นใน โปรโบวล์ เป็นหนที่ 4 ในชีวิตการเล่นของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย 

ปี 2004

ถ้าปี 2003 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จของ เพย์ตัน แมนนิ่ง แล้ว ในปี 2004 ก็น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่านั้นเข้าไปอีก เมื่อเขานำทีม อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส จบด้วยสถิติ 12-4 (ชนะ 12 แพ้ 4 ) ผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้อีกครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าจะไปแพ้ให้กับ นิว อิงแลนด์ แพทริออตส์ คู่ปรับเก่า ในรอบต่อมาก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

สำหรับความสำเร็จส่วนตัวในปีดังกล่าวนั้น เพย์ตัน แมนนิ่ง ได้รับรางวัล ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของ เอ็นเอฟแอล (NFL) หรือตำแหน่ง เอ็มวีพี (MVP) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยชนะในรางวัลดังกล่าวด้วยคะแนนโหวตที่ขาดลอยถึง 49 จาก 50 เสียงเลยทีเดียว นอกจากนั้นยังจะได้รับรางวัล ผู้เล่นเกมรุกยอดเยี่ยมประจำปี อีกด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้เจ้าตัวได้ติดทีมยอดเยี่ยมแห่งฤดูกาล หรือ ออลโปร (ALL-PRO) รวมไปถึงติดทีม โปรโบว์ เป็นครั้งที่ 5 อย่างไม่ต้องสงสัยอีกครั้งเช่นเดียวกัน

ปี 2005

เพย์ตัน แมนนิ่ง และ อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส เริ่มต้นซีซั่นได้อย่างยอดเยี่ยมที่เดียว เมื่อเขานำทีมสตาร์ท 13 เกมแรกด้วยการเก็บชัยชนะรวด โดยหนึ่งในนั้นก็เป็นการเอาชนะ นิว อิงแลนด์ แพทริออตส์ ซึ่งเป็นแชมป์ ซูเปอร์ โบวล์ ถึง 2 สมัยติดต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย และแน่นอนว่าด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมนี้เอง ทำให้พวกเขาผ่านเข้าไปเล่นในรอบเพลย์ออฟอีกครั้ง ซึ่งในฤดูกาลนั้น พวกเขาก็ผ่านไปถึงรอบชิงแชมป์สายด้วย ก่อนที่จะพ่ายแพ้ให้กับ พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส ในรอบดังกล่าว ทำให้ชวดเข้าไปถึงรอบชิง ซูเปอร์ โบวล์ อย่างน่าเสียดาย

สำหรับรางวัลส่วนตัวของ เพย์ตัน แมนนิ่ง นั้น ในปีดังกล่าว เขาชวดได้รางวัล ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของ เอ็นเอฟแอล (NFL) หรือตำแหน่ง เอ็มวีพี (MVP) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อทำได้ดีที่สุดแค่เพียงอันดับที่ 2 เท่านั้น แต่ทว่าเขายังติดอยู่ในทีมยอดเยี่ยมแห่งฤดูกาล หรือ ออลโปร (ALL-PRO) อยู่ดี และแน่นอน โปรโบว์ ครั้งที่ 6 ก็ไม่พลาดที่จะมีชื่อของเขาแต่อย่างใด

ปี 2006

เพย์ตัน แมนนิ่ง และ อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส ยังคงเริ่มต้นฤดูกาลด้วยฟอร์มการเล่นอันยอดเยี่ยมอยู่เหมือนเดิม เมื่อสตาร์ทปีดังกล่าวด้วยสถิติ 9-0 (ชนะ 9 แพ้ 0) ด้วยกัน ซึ่งเมื่อจบซีซั่นปกติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกเขาก็สามารถจบด้วยสถิติ 12-4 (ชนะ 12 แพ้ 4 ) อันเป็นผลทำให้ทีมของพวกเขาผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟต่อไป และในปีนั้น พวกเขาก็ชนะผ่านรอบเพลย์ออฟ และชิงแชมป์สายมาได้ ซึ่งก็หมายความว่า พวกเขาสามารถผ่านเข้าไปเล่นใน ซูเปอร์โบวล์ ครั้งที่ 40 ได้เป็นผลสำเร็จอีกด้วย

ในศึกชิงแชมป์ ซูเปอร์ โบวล์ ครั้งที่ 40 ซึ่งพวกเขาต้องพบกับ ชิคาโก้ แบร์ส ตัวแทนจากสาย เอ็นเอฟซี นั้น เพย์ตัน แมนนิ่ง และพรรคพวคของเขา ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อสามารถคว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะไปได้ 29-17 ซึ่งนั่นยังผลให้ สุดยอด คอวร์เตอร์แบ็ค รายนี้ คว้าตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำ ซูเปอร์โบวล์ หรือ เอ็มวีพี (MVP) ไปครองได้อีกด้วย และแน่นอนว่าสำหรับผลงานดังกล่าวแล้ว เขาต้องติดทีมไปเล่น โปรโบวล์ อีกครั้ง ซึ่งเป็นหนที่ 7 ของชีวิตตัวเอง อย่างไม่มีที่ต้องให้สงสัยแต่อย่างใดเลย

ปี 2007

ภายหลังจากคว้าแชมป์ ซูเปอร์ โบวล์ ครั้งที่ 40 เมื่อปีที่ผ่านมาได้สำเร็จ ช่วงต้นฤดูกาล เพย์ตัน แมนนิ่ง และ อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส ของเขา ยังคงมีฟอร์มการเล่นที่ร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง เมื่อ 7 เกมแรกของฤดูกาล พวกเขาสามารถเก็บชัยชนะได้ทั้งหมด ก่อนที่สถิติอันสวยหรูดังกล่าวจะต้องถูกหยุดลง เมื่อพวกเขาพ่ายแพ้ให้กับ “คู่อริเก่า” นิว อิงแลนด์ แพรทริออตส์ ในเกมที่ 8 ของฤดูกาลในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม เพย์ตัน แมนนิ่ง และทีม ยังคงสามารถประคับประคองตัวเองผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้ตามปกติ และในปีนั้นพวกเขาก็สามารถผ่านไปถึงรอบดิวิชั่นนัล เพลย์ออฟ ได้อีก่วย ก่อนจะแพ้ให้กับ ซาน ดิเอโก้ ชาร์เจอร์ส ตกรอบไปในที่สุด

ด้านผลงานส่วนตัวของ เพย์ตัน ในช่วงปีดังกล่าวนั้น เขาขว้างระยะรวมได้ทั้งสิ้น 4,040 หลา ด้วยกัน และก็ขว้างทำให้เพื่อร่วมทีมทำทัชดาวน์ได้อีกถึง 31 ครั้งด้วย ซึ่งจากผลงานเช่นนี้ ก็ทำให้เขาติดทีม โปรโบวล์ อีกครั้ง อันเป็นครั้งที่ 8 ของตัวเองอย่างไม่ต้องสงสัยแต่อย่างใด

ปี 2008

เพย์ตัน แมนนิ่ง ต้องพลาดการลงเล่นในช่วงปรีซีซั่นปีดังกล่าว เนื่องจากมีปัญหาอาการบาดเจ็บ และต้องทำการผ่าตัดที่บริเวณหัวเข่าซ้าย ก่อนที่เขาจะกลับมาอีกครั้งได้เป็นผลสำเร็จในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูกาลไม่นานนัก และแม้ว่าจะมีปัญหาดังกล่าว แต่ แมนนิ่ง ก็ยังสามารถพาทีม อินเดียนาโปลิศ โคลท์ส ของตัวเอง ผ่านเข้าไปเล่นในรอบเพย์ออฟได้ ก่อนที่จะแพ้ให้กับ ซาน ดิเอโก้ ชาร์เจอร์ส ไปในรอบเพลย์ออฟในเวลาต่อมา

ด้านความสำเร็จส่วนตัวนั้น แม้ว่า เพย์ตัน แมนนิ่ง จะมีปัญหาบาดเจ็บในช่วงต้นดังกล่าว แต่เขาก็ยังคงทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อสามารถคว้ารางวัล ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของ เอ็นเอฟแอล (NFL) หรือตำแหน่ง เอ็มวีพี (MVP) ได้เป็นหนที่ 3 ของตัวเองเป็นผลสำเร็จอีกด้วย

เกียรติยศทั้งหมดของ เพย์ตัน แมนนิ่ง

Major high school awards

1992, 1993 Louisiana Class 2A MVP
1993 Gatorade Circle of Champions Award
1993 Atlanta TD Club's Bobby Dodd Award
1993 New Orleans Quarterback Club Player of the Year
1993 Columbus, Ohio Touchdown Club Offensive Player of the Year
1993 Gatorade High School Player of the Year (National)

College awards

1994 SEC Freshman of the Year
1995 First-Team All-SEC
1995 SEC Offensive Player of the Week (vs. Arkansas)
1995 NCAA Offensive Player of the Week (vs. Arkansas)
1996 Second-Team All-SEC
1996 Third-Team All-American
1996 SEC Offensive Player of the Week (vs. South Carolina)
1996 SEC Offensive Player of the Week (vs. Georgia)
1997 Davey O'Brien Award
1997 Johnny Unitas Award
1997 NCAA QB of the Year
1997 Maxwell Award
1997 James E. Sullivan Award
1997 Today's Top VIII Award
1997 SEC Championship MVP
1997 Citrus Bowl MVP
1997 First-Team All-American
1997 SEC Player of the Year
1997 First-Team All-SEC
1997 SEC Player of the Week (vs. Southern Miss)
1998 Best College Player ESPY Award

NFL awards

NFL MVP (2003 (shared with Steve McNair), 2004, 2008)
Best NFL Player ESPY Award(2004, 2005)
9× Pro Bowl Selection (1999–2000, 2002–2008)
4× First-team All-Pro (2003, 2004, 2005, 2008)
3× Second-team All-Pro (1999, 2000, 2006)
Bert Bell Award (2003, 2004)
1998 NFL All-Rookie First Team
2004 AFC Offensive Player of the Year
2004 Fedex Express Player of the Year
2005 Best Record-Breaking Performance ESPY Award
2005 Walter Payton Man of the Year Award
2005 Byron “Whizzer” White Humanitarian Award
2005 Pro Bowl MVP
2007 Super Bowl MVP
2007 Best Championship Performance ESPY Award

ADS