ประวัติ เหยา หมิง
เหยา หมิง
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ : เหยา หมิง
วันเกิด : 12 กันยายน 1980 (อายุ 27)
สถานที่เกิด : เซียงไฮ้, จีน
สัญชาติ : จีน
ส่วนสูง : 7 ฟุต 6 นิ้ว (2.29 เมตร)
น้ำหนัก : 310 ปอนด์ (140.6 กิโลกรัม)
ทีม : ฮุสตัน ร็อตเก็ตต์ส
ลีก : เอ็นบีเอ
ตำแหน่ง : เซนเตอร์
เบอร์ : 11
ดร๊าฟ : ที่ 1, 2002, ฮุสตัน ร็อตเก็ตตส์
เล่นอาชีพ : 1997-ปัจจุบัน
อดีตทีม : เซียงไฮ้ ชาร์กส์ (1997-2002)เหยา หมิง นักบาสเกตบอลเอเชียชื่อดังของทีม ฮุสตัน ร็อคเก็ตส์ และเป็นเจ้าของสถิตินักบาสเกตบอลที่มีความสูงที่สุดในศึกเอ็นบีเอ สหรัฐฯ ที่ 7 ฟุต 6 นิ้ว (2.29 เมตร) เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน 1980 ที่ เซียงไฮ้ ประเทศจีน โดยเขาได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจีนที่โด่งดังและมีสปอนเซอร์สนับสนุนมากมาย จึงไม่แปลกที่เขาจะกลายเป็นคนดังที่ร่ำรวยที่สุดในแดนมังกร 5 ปีติดต่อกัน นอกจากนี้ เขายังมีส่วนในการเขียนอัตชีวประวัติชีวิตของตนเองร่วมกับ ริช บุชเชอร์ นักเขียนชื่อดัง ซึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีอีกด้วย
เหยา หมิง เริ่มต้นอาชีพยัดห่วงกับทีมเยาวชนของเซียงไฮ้ ชาร์กส์ ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ชุดใหญ่ และใช้เวลาลงเล่นกับทีมเป็นเวลา 5 ปี จนสามารถพาต้นสังกัดคว้าแชมป์ของสมาคมบาสเกตบอลจีน (Chinese Basketball Association : CBA) ได้ในปีสุดท้ายของเขากับทีม ก่อนที่จะเข้าคัดเลือกการดราฟฟ์ในศึกเอ็นบีเอ ปี 2002 และหลังจากนั้น เขาก็เจรจากับ CBA และ ชาร์กส์ ปล่อยเขาออกจากทีม
เหยา ถูก ทีม ฮุสตัน ร็อคเก็ตส์ คว้าตัวไปร่วมทีม พร้อมกับสร้างประวัติศาสตร์ เป็นนักบาสเกตบอลชาวเอเชียคนแรกของเอ็นบีเอ ที่ได้คัดเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่ง (Draft No.1) และเป็นการคัดเลือกมาจากทีมนอกสหรัฐฯ นับแต่นั้นมา เหยา ก็ได้รับเลือกให้อยู่ในทีมออล สตาร์ เอ็นบีเอ สาย ตะวันตก ตลอด 6 ฤดูกาลที่ผ่านมา รวมถึงยังเคยติดทีม เอ็นบีเอ ออล สตาร์ อีก 3 ครั้งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เหยา หมิง ก็ยังไม่สามารถพา ร็อคเก็ตส์ ผ่านเกมเพลย์ออฟ รอบแรก ไปได้เลย
อาชีพนักบาสเกตบอลในจีน
เริ่มต้นชีวิต และ นักบาสเกตบอลอาชีพเหยา เกิดในครอบครัวนักบาสเกตบอลโดยแท้ โดยเขาเป็นลูกชายของ เหยา ซิยวน (บิดา) และ ฟาง เฟนดี (มารดา) ซึ่งเป็นอดีตนักบาสเตบอลอาชีพด้วยกันทั้งคู่ แรกเกิด เหยา มีน้ำหนักร่างกายมากกว่าเด็กจีนทั่วไปถึง 2 เท่า และเพียงอายุ 10 ปี ความสูงเขาเหยาก็พุ่งไปถึง 5 ฟุต 5 นิ้วแล้ว (1.65 เมตร) โดยแพทย์ ได้คาดการณ์ว่า เมื่อ เหยา เจริญเติบโตเต็มที่ เขาอาจมีส่วนสูงถึง 7 ฟุต 3 นิ้ว (2.20 เมตร) เลยทีเดียว
เหยา เริ่มเล่นบาสเกตบอล ครั้งแรก ในวัย 9 ปี กับทีมของโรงเรียนร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน พออายุ 13 ปี เหยา ได้เข้าร่วมทีมระดับเยาวชนของทีม ชาร์กส์ หลังจากนั้นอีก 4 ปี ก็ได้ก้าวขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่ และ ในฤดูกาลแรกของเหยา (1997-1998) เขาก็ทำแต้มเฉลี่ยได้ 17 คะแนน และ 8 รีบาวน์ อย่างไรก็ตาม ในปีถัดมา เหยา ได้รับบาดเจ็บเท้าแตกจนต้องหยุดเล่นทั้งซีซั่น ซึ่งเหยาออกมายอมรับว่าอาการบาดเจ็บนี้ มีส่วนทำให้ความสามารถในการกระโดดของเขาลดลง 4-5 นิ้ว (10-15 เซนติเมตร)
หลังจากหายเจ็บ เหยา ก็กลับมาช่วยให้ทีม ชาร์กส์ เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศศึกบาสเกตบอล CBA ได้สำเร็จ 2 ฤดูกาลติดต่อกัน แต่น่าเสียดายที่ทีมของเขาต้องเป็นฝ่ายพ่ายให้กับ บายี่ ร็อคเกตส์ ไปทั้งสองครั้ง แต่ ในที่สุด ชาร์กส์ ก็ว้าแชมป์ CBA ได้สำเร็จ ใน ฤดูกาล 2000-2001 โดยเกมนั้น เหยา ทำแต้มเฉลี่ยได้ถึง 38.9 และ 20.2 รีบาวน์ ต่อเกม
เข้าสู่การ ดราฟฟ์ ในเอ็นบีเอ
ก เหยา เคยเตรียมตัวเข้าสู่การ ดราฟฟ์ ในเอ็นบีเอ เมื่อปี 1999 แต่ก็มีอันต้องลบเลิกไป จนกระทั่งในปี 2002 เหยา ก็ได้เดินทางสู่ สหรัฐฯ อเมริกา พร้อมคณะทำงาน ในการผลักดันเหยาเข้าสู่เกมบาสเกตบอลที่ดังที่สุดของโลกให้ได้ และในที่สุด เหยา ก็กลายเป็นนักบาสเกตบอลเอเชียในประวัติศาสตร์ของเอ็นบีเอ ที่ได้คัดเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่ง (Draft No.1) โดย ทีมฮูสตัน ร็อคเก็ต (Houston Rockets) และเป็นการคัดเลือกมาจากทีมนอกสหรัฐฯ โดยเป็นการเซ็นสัญญาระยะเวลา 4 ปี มูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ เหยา จะเป็น นักบาสเกตบอล เอเชีย คนที่สามที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่เกมระดับเอ็นบีเอ ตามหลัง Wang Zhizhi และ Mengke Bateer แต่ เหยา ก็ได้สร้างกระแสความนิยมได้มากกว่าสองคนแรกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเขาถือเป็นนักบาสเกตบอลเอเชียคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเหมือนได้รับตราการันตีว่า โอกาสที่จะเหยาจะไปเป็นดาวเจิดจรัสแสงในเอ็นบีเอนั้นเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
บาสเกตบอลอาชีพในเอ็นบีเอ
2002-2005 : ช่วงเริ่มต้น
เหยาไม่ได้มีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมช่วงปรี-ซีซั่นกับ ฮุสตัน เนื่องจากต้องเดินทางไปเล่นให้กับทีมชาติจีนในศึกบาสเกตบอลชิงแชมป์โลก ปี 2002 และเขาได้สัมผัสเกมเอ็นบีเอครั้งแรกในนัดที่พบกับทีม อินเดียน่า เพเซอร์ส โดยเขาทำได้เพียง 1 แต้มกับอีก 1 รีบาวน์ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เหยา ก็สามารถชู้ตแต้มลงห่วงครั้งแรกในศึกเอ็นบีเอไดสำเร็จ ในนัดที่พบกับ เดนเวอร์ นัตเก็ตต์ส โดยหลังจาก 7 เกมผ่านไป เหยา มีสถิติลงสนามไปเพียงเฉลี่ย 14 นาที และ 4 แต้ม ต่อเกม ซึ่งทำให้หลายฝ่ายต่างพากัน คาดหมายว่า เหยา คงไม่ประสบความสำเร็จในเกมเอ็นบีเออย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อจบฤดูกาลแรก (2002-2003) ของเขา เหยา สามารถทำแต้มเฉลี่ยได้ 13.5 คะแนน และ 8.2 รีบาวน์ ต่อเกม ซึ่งดีพอที่จะทำให้เขาคว้าตำแหน่งผู้เล่นดาวรุ่งแห่งปีของเอ็นบีเอ ในอันดับ 2 ไปครอง (NBA Rookie of the Year Award) พร้อมกับถูกเลือกให้ติดทีมรวมดาวรุ่งเอ็นบีเอ ชุดตัวจริง นอกจากนี้ เหยา ยังได้รับการโหวตจาก Sporting News ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์กีฬาชื่อดังของสหรัฐฯ ให้เป็นผู้เล่นดาวรุ่งแห่งปี และได้รางวัล นักกีฬาหน้าใหม่แห่งปี (Laureus Newcomer of the Year) มาครองได้อีกด้วย
เข้าสู่ฤดูกาล 2003-2004 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่สองของ เหยา ในเอ็นบีเอ เขาก็เริ่มฉายแววพรสวรรค์ด้านการยัดห่วงได้อย่างโดดเด่นมากขึ้น หลังจากที่ เหยา สามารถทำแต้มและรีบาวน์เฉลี่ยต่อเกมได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง โดยจบฤดุกาล เขาสามารถทำแต้มเฉลี่ยต่อเกม ที่ 17.5 แต้ม กับ 9.0 รีบาวน์ ต่อเกม และไฮไลท์การทำแต้มสูงสุดของเขา เกิดขึ้น ในนัดที่พบกับ แอตแลนต้า ฮอร์ก ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004 ซึ่ง เหยา ทำแต้มได้สูงถึง 41 คะแนน กับ 7 แอสซิส ส่งผลให้ในซีซั่นนี้ ทีมฮุสตัน ได้ผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟ รอบแรกได้สำเร็จ ซึ่งแม้ว่าทีมของเหยาจะต้องตกรอบไปในที่สุด ด้วยน้ำมือของ ลอสแองเจลลิส เลเกอร์ส แต่ เหยา ก็โชว์ฟอร์มได้ดี จนได้รับการโหวตให้เป็นผู้เล่นในตำแหน่งเซนเตอร์ในทีม NBA All-Star Game ประจำปี 2004 ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน
ในฤดูกาล 2004-2005 เหยา ยังคงได้รับการโหวตให้อยู่ในทีม NBA All-Star Game ร่วมกับ เทรซี่ แม็คเกรดี้ เพื่อนร่วมทีม ฮุสตัน ซึ่งเพิ่งย้ายมาร่วมทีมเมื่อช่วงซัมเมอร์ นอกจากนี้ เหยา ยังทำลายสถิติของ ไมเคิ่ล จอร์แดน อดีตตำนานนักบาสบอลของเอ็นบีเอ หลังจากที่ เขาได้รับเสียงโหวต All-Star มากที่สุด ที่ 2,558,278 คะแนน และในฤดูกาลนี้ เหยา ก็ช่วยให้ ร็อตเก็ตส์ คว้าชัยได้ถึง 51 เกม พร้อมจบที่อันดับ 5 ในสายตะวันตก ซึ่งส่งผลให้ อุสตัน ได้เข้ารอบเพลย์ออฟ รอบแรก ได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยพวกเขาต้องไปพบกับ ดัลลัส มาเวอร์ริคส์ อย่างไรก็ตาม แม้เหยาจะทำสถิติชู้ตแต้มเฉลี่ยได้ถึง 21.4 คะแนน กับ 7.7 รีบาวน์ ต่อเกม ในรอบเพลย์ออฟ แต่เขาก็ไม่อาจช่วยให้ ฮุสตัน ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้ หลังจากเป็นฝ่ายแพ้ให้กับ ดัลลัส ไป 3-4 เกม
2005-2008 : บาดเจ็บเรื้อรัง
หลังจากพลาดลงสนามช่วยทีม ฮุสตัน ไปเพียง 2 เกมเท่านั้น ใน 3 ปี แรก เหยา ก็ต้องได้รับบาดเจ็บอย่างหนักที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าซ้าย จนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดในวันที่ 18 ธันวาคม 2005 อย่างไรก็ตาม แม้จะต้องพลาดลงเล่นไปถึง 21 เกม แต่หลังจากกลับมาฟิตสมบูรณ์อีกครั้ง เหยา ก็ยังได้รับการโหวตจากแฟนบาสเกตบอล ให้ติดทีม 2006 NBA All-Star Game หลังสิ้นสุดฤดูกาล เช่นเดิม ด้วยผลงานลงเล่นไปทั้งหมด 57 เกม ทำแต้มเฉลี่ยได้ 22.3 คะแนน กับ 10.2 รีบาวน์ต่อเกม แต่น่าเสียดายที่ เหยา ก็ไม่อาจพา ฮุสตัน ผ่านเข้าเล่นเกมเพลย์ออฟในปีได้ แถมยังต้องได้รับบาดเจ็บซ้ำในเกมที่พบกับ ยูทาห์ แจ๊ส เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2006 โดยเหยาโชคร้ายกระดูกเท้าซ้ายแตก และส่งผลให้เขาต้องพักยาวถึง 6 เดือนเลยทีเดียว
เข้าสู่ฤดูกาลที่ 5 เหยา ยังคงหลีกหนีไม่พ้นอาการบาดเจ็บรุมเร้า โดยครั้งนี้ เหยา ได้รับบาดเจ็บเข่าแตก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2006 ขณะที่กำลังพยายามบล็อกลูกยิงของคู่ต่อสู้ และอาการบาดเจ็บในครั้งนี้ ก็ทำให้เขาพลาดการลงเล่นเกม All-Star ครั้งที่ 5 ของตนเองไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งเขากลับมาเล่นได้อีกที ในวันที่ 4 มีนาคม 2007 หลังจากชวดลงเล่นไปถึง 34 เกม
อย่างไรก็ตาม แม้ฮุสตัน จะไม่มี เหยา แต่ทีมก็ยังสามารถทะลุผ่านเข้าถึงรอบเพลย์ออฟ รอบแรก ได้สำเร็จ โดยไปพบกับ ยูท่า แจ๊ส ซึ่งทีมก็สามารถเอาชนะไปได้ใน 2 เกมแรก แต่ทว่าพวกเขาก็ต้องเป็นฝ่ายปราชัยไปใน 4 เกมจาก 5 เกม หลังสุด พร้อมกับกระเด็นตกรอบนี้ไปอีกครั้ง แม้ว่า เหยา จะทำได้แต้มเฉลี่ยได้ถึง 25.1 แต้ม กับ อีก 10.3 รีบาวน์ ตลอดซีรี่ย์ ก็ตาม ทำให้ จบซีซั่น เหยา ได้รับเลือกให้ติดทีม All-NBA ทีมที่สองเป็นครั้งแรกในอาชีพยัดห่วงเอ็นบีเอ หลังจากก่อนหน้านี้ ได้รับเลือกให้ทีม All-NBA ทีมที่สามมาแล้ว 2 ครั้ง
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2007 เหยา ได้ลงเล่นร่วมกับ นักบาสเกตบอลจีนด้วยกันเป็นครั้งแรกในศึกเอ็นบีเอ กับ ยี่ เจียงเลียง ผู้เล่นของทีม นิวเจอร์ซี่ย์ เน็ต ซึ่งเป็นเกมที่ถูกถ่ายทอดสดไปกว่า 19 ช่องโทรทัศน์ พร้อมผ่านสายตาคนดูกว่า 200 ล้านคน ในประเทศจีน จนเป็นเกมที่ถูกบันทึกว่ามีผู้ชมสูงสุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว โดยเกมนั้นทีมของเหยา เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้อย่างขาดลอย 104-88 และยังเป็นเกมที่ และใน เกม NBA All-Star Game ปี 2008 เหยา ได้รับการโหวตให้เป็นผู้เล่นตำแหน่งเซนเตอร์ของสายตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2008 เหยาก็โชคร้ายได้รับบาดเจ็บกระดูกเท้าซ้ายแตก จนต้องพักยาวทั้งซีซั่น ส่งผลให้ เหยา ชวดลงเล่นเกมรอบเพลย์ออฟ รอบแรก ของทีม และอาจจะรวมถึง โอลิมปิก เกมส์ ที่ปักกิ่ง ในช่วงสิงหาคมนี้ด้วย
ทีมชาติจีน
โอลิมปิก เกมส์ 2004
ในการแข่งขัน โอลิมปิก เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศ กรีซ เหยา ได้รับเลือกให้เป็นผู้ถือธงชาติจีนนำทัพนักกีฬาแดนมังกรลงสู่สนามในพิธีเปิดการแข่งขัน ก่อนที่จะช่วยทีมบาสเกตบอลจีนผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จ แม้ว่าจะต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ สเปน, อาร์เจนติน่า และ อิตาลี ตามลำดับ ไปก่อนในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ผลจากการ เอาชนะ นิวซีแลนด์ และ ทีมแชมป์โลก อย่าง เซอร์เบีย แอนด์ มอนเตรเนโกร มาได้ ก็เพียงพอที่จะทำให้พวกเขาผ่านเข้าสู่รอบต่อไป อย่างไรก็ตาม จีนก็ต้องจอดป้ายเพียงแค่นั้น หลังจากโดน ลิทัวเนีย สอนเชิงไปแบบราบคาบในรอบ 8 ทีมสุดท้าย แต่ด้วยฟอร์มอันยอดเยี่ยมของ เหยา ก็ช่วยให้เขาได้มีชื่อติดทีมรวมโอลิมปิกส์ ในปีนั้นชิงแชมป์โลก 2006
อาการบาดเจ็บของเหยา ในฤดูกาล 2005-2006 ของศึกเอ็นบีเอ ซึ่งทำให้ เขาจำเป็นต้องเข้าฟื้นฟูร่างกายถึง 6 เดือนเต็มในฤดูกาลที่เหลืออยู่ ได้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันบาสเกลบอลชิงแชมป์โลก 2006 ของเขา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เหยา ก็กลับมาฟิตสมบูรณ์ก่อนเริ่มทัวร์นาเม้นต์ และในเกมสุดท้าย ในรอบแรก เหยา ก็ทำคนเดียวถึง 36 แต้ม กับ 10 รีบาวน์ ช่วยให้ จีน เอาชนะ สโลวีเนีย พร้อมกับผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม จีนก็ต้องหยุดเส้นทางของตัวเองเพียงแค่นั้น หลังโดน กรีซ เอาชนะไปได้ ขณะที่ เหยา ก็ได้รับการบันทึกให้เป็นผู้เล่นที่มีสถิติการเล่นดีที่สุดเป็นอันดับ 4 ของทัวร์นาเม้นต์ ด้วยผลงาน ทำแต้มเฉลี่ย 25.3 แต้ม (มากที่สุดในทัวร์นาเมนต์) กับอีก 9.0 รีบาวน์ ต่อ เกม
ชีวิตนอกสนาม
ชีวิตส่วนตัวในวันที่ 6 สิงหาคม ปี 2007 เหยา ได้เขาพิธีวิวาห์กับ เย้ หลี่ นักบาสเกตบอลทีมชาติจีน ซึ่งเขาคบหาดูใจตั้งแต่อายุ 17 ปี โดย เย เปิดใจว่า เขาไม่ได้ปิ๊ง เหยา ตั้งแต่แรกพบ แต่หลังจากที่ได้พบปะพูดคุยกันในช่วงการแข่งขันโอลิมปิก ฤดูกาล ปี 2000 ก็ทำให้ เย เปิดใจยอมรับ เหยา ในที่สุด และความโรแมนติกระหว่างทั้งคู่ก็ได้เปิดเผยสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อพวกเขาได้ปรากฏตัวเคียงข้างกันในพิธีปิดโอลิมปิก เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ปี 2004
ในปี 2004 เหยา ได้ร่วมเขียนอัตชีวประวัติของตนเองกับ ริค บุชเบอร์ นักข่าวกีฬาชื่อดงทางช่อง อีเอสพีเอ็น โดยมีชื่อเรื่องว่า “Yao: A Life in Two Worlds.” และในปีเดียวกันนี้ ชีวิตของเขายังได้ถูกเผยแพร่ผ่านภาพยนตร์สารคดีที่มีชื่อว่า ”The Year of the Yao” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเข้าสู่เอ็นบีเอปีแรกของเหยา อีกด้วยต่อมาในปี 2005 บรุ๊ค ลาร์เมอร์ อดีตนักเขียนของ Newsweek ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า “Operation Yao Ming” ซึ่งเป็นเรื่องราวของพ่อแม่ของเหยา ทีเชื่อมั่นในตัวลูกชายคนนี้ รวมถึงให้การสนันสนุนและผลักดันจนทำให้เหยา กลายเป็นนักบาสเกตบอลที่ยอดเยี่ยมได้สำเร็จ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กของเหยา ที่มีชื่อว่า “"Yao Ming" ซึ่ง เขียนโดน ริชาร์ด คราวิแอ็ค อีกด้วย
ชีวิตสาธารณะ
เหยา ถือเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่โด่งดังมากที่สุดในจีน เคียงข้างกับ ลู เซียง สุดยอดนักวิ่งข้าม เหรียญโอลิมปิก ปี 2004 ส่งผลให้ เหยา ครองแชมป์เป็นบุคคลดังชาวจีน ที่มีรายได้และชื่อเสียงมากที่สุด 5 ปี ติดต่อกัน ด้วยรายรับกวา 54.6 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ (ประมาณ 1,911 ล้านบาท) ในปี 2007 จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes ซึ่งเป็นนิตยสารชื่อดังของอเมริกา โดยรายได้ส่วนใหญ่ของเขามาจากการเซ็นสัญญาเป็นสปอร์นเซอร์ให้กับหลากหลายธุรกิจสินค้า โดยเขา ได้เซ็นสัญญากับ ไนกี้ จนจบปีแรกของเขาในเอ็นบีเอ ก่อนที่จะมาเซ็นสัญญากับ รีบ้อค นอกจากนี้ เขายังได้เซ็นสัญญากับ เป๊ปซี่ แถมยังชนะการฟ้องร้อง บริษัท โคคา-โคล่า ในปี 2003 ในข้อหาที่นำภาพของเขาไปโปรโมทโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย อย่างไรก็ดี เหยา ก็ได้ตกลงทำสัญญากับ โคคา-โคลา ในโอลิมปิก เกมส์ ปี 2008 ขณะที่ สินค้าอื่นๆ ที่เหยาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้ ยังมี วีซ่า, แอปเปิ้ล, การ์มิน และ แม็คโดนัลด์ (ซึ่งเป็นร้านอาหารที่เขาโปรดปรานมากที่สุดในวัยเด็ก)เหยา ถือเป็นนักกีฬาใจบุญคนหนึ่ง โดยเขามีส่วนร่วมในงานการกุศลมากมายระหว่างเล่นบาสเกตบอลอาชีพที่ สหรัฐฯ รวมไปถึง โครงการที่มีชื่อว่า “NBA’s Basketball Without Borders program” อีกด้วย และในช่วงปิดฤดูกาลปี 2003 เขาได้บริจาคเงินกว่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 10.5 ล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือการยับยั้งโรคซาร์ ในประเทศจีน ขณะที่ในเดือนกันยายนปี 2007 เขาได้จัดการแข่งขันบาสเกตบอลนัด หาเงินช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสในจีน พิเศษ โดยมีเพื่อนนักบาสเกตบอลชื่อดังอย่าง สตีฟ แนช, คาร์เมโล่ แอนโธนี่ และ ไบรลอน เดวิส ร่วมทั้ง แจ๊คกี้ ชาน นักแสดงชาวจีนชื่อดัง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งงานในครั้งนั้น มียอดเงินบริจาคสูงถึง 965,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 33.8 ล้านบาท) ถัดมาในปี 2008 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ซิชูน เหยา ก็ได้บริจาคเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 70 ล้านบาท) เพื่อช่วยให้การทำงานของหน่วยกู้ชีวิต และก่อตั้งองค์กรสำหรับช่วยเหลือการสร้างและซ่อมแซมโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการแผ่นดินไหวในครั้งนั้นอีกด้วย
เกียรติยศที่ได้รับ
6-time NBA All-Star (2003-2008)
4-time All-NBA Team Selection (2004, 2006-2008)
2002–03 NBA All-Rookie First Team